สารและเทปติดยึดที่ไวต่อแรงกด

เพราะอะไรที่สารติดยึดที่ไวต่อแรงกดจึงทำงานได้ผลในเทป

สารติดยึดที่ไวต่อแรงกดประกันว่าเทปติดยึดสามารถสร้างพันธะเชื่อมติดได้ด้วยการสัมผัสอย่างเบาที่สุด การผสมผสานคุณสมบัติหลายหลากเข้าด้วยกันทำให้มีประสิทธิผล

มีเหตุผลที่ดีสำหรับเรื่องที่ว่าเพราะอะไรที่สารติดยึดที่ไวต่อแรงกดจึงทำให้เทปติดยึดเหนียวติดได้ หรืออันที่จริงแล้วมีเหตุผลหลายประการที่ทำให้สารติดยึดที่ไวต่อแรงกดซึ่งส่งผลให้เทปติดยึดเป็นเพื่อนคู่งานที่เหมาะยิ่งสำหรับการใช้งานมากมาย

สารติดยึดที่ไวต่อแรงกด (PSA) คืออะไร

เริ่มแรก คือ สารติดยึดที่ไวต่อแรงกดเป็นสารติดยึดประเภทหนึ่ง กล่าวให้แน่ชัดลงไปอีก คือ สารติดยึดที่พบบนเทปติดยึด สารติดยึดที่ไวต่อแรงกดมีสูตรพิเศษ คือ สารนี้ประสาน ความหนืด - สภาวะที่ข้น เหนียว และกึ่งของเหลวในระดับความเข้มข้นที่คล้ายกับน้ำผึ้ง เป็นต้น - เข้ากับ ความยืดหยุ่น - เช่น ที่ยางมี เป็นต้น สารนี้ติดยึดได้ดีบนพื้นผิว (แรงติดยึด) และแข็งตัว และแข็งทื่อเท่า ๆ กันในและของตัวเอง (แรงยึดกัน) ในการที่จะได้ผลนี้ได้ สารติดยึดจะต้องมีวัตถุดิบพิเศษโดยเฉพาะ

ตัวอย่างเช่น ยางธรรมชาติสามารถนำมาเติมได้ เนื่องจากมีแรงติดยึดที่แข็งแรงเป็นพิเศษด้วยการผนวกกับเรซิน เทปติดยึดบนพื้นฐานยางธรรมชาติ ถูกนำไปใช้งาน เช่น เมื่อเราต้องการปิดพื้นผิวสำหรับการพ่นสี หรือผนึกกล่อง ถ้าเทปติดยึดต้องติดไว้นานเป็นพิเศษ ทนทานต่อแสงแดด รังสี UV และอุณหภูมิรุนแรงแล้ว โดยปกติจะใช้สารติดยึดที่ไวต่อแรงกดซึ่งทำจากอะคริเลต เทปนี้สามารถปรับให้เข้ากับเงื่อนไขความต้องการได้ยิ่งดีกว่าขึ้นไปอีก เพราะว่าอะคริเลตมีพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่สามารถ “ตัดแต่ง” ได้

IPM-ACXplus-stress-dissipation-001_72dpi
สารติดยึดที่ไวต่อแรงกดประสานความหนืดและความยืดหยุ่นเข้าด้วยกัน

การผลิตเทปติดยึดแบบโปร่งใส (เช่น tesafilm®)

ขอให้เราติดตามดูตัวอย่างของยางธรรมชาติเช่นเคย และดูการผลิตเทปหน้าเดียวเพื่อให้เข้าใจง่าย หลังจากที่ม้วนวัตถุดิบยางธรรมชาติได้ถูกตัดย่อยให้เหลือขนาดเป็นเศษชิ้นเล็ก ๆ แล้ว จะนำมาผสมกับเรซินและวัสดุอื่น ทำให้ละลายและกวนให้เป็นเนื้อเดียวกัน วัสดุที่เติมเพิ่มเข้ามานั้นได้รับการเลือกตามความต้องการพิเศษโดยเฉพาะของสารติดยึด เช่น เพื่อให้ได้ความทนทานสูงต่อการเสื่อมอายุ เป็นต้น เทคโนโลยีสูตรน้ำที่ได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตรสำหรับ tesa ทำให้กระบวนการนี้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง โดยไม่มีการเติมสารทำละลาย

หลังการผลิตสารติดยึดแล้ว ในสถานที่การผลิตพิเศษ จะมีการประสานสารติดยึดกับแผ่นรองรับให้เข้ากันเป็นหน่วยเดียว กระบวนการทำงานตามขั้นตอนต่อไปนี้ คือ

  1. การปรับสภาพเบื้องต้น: ถ้าจำเป็นจะมีการเตรียมพื้นผิวเบื้องต้น หรือการเตรียมพื้นผิวแบบ corona เพื่อปรับปรุงการเกาะยึดของสารเคลือบเบื้องต้นบนวัสดุแผ่นรองรับใหม่ ซึ่งทำด้วยพอลิโพรพิลีน และมีขนาดที่วัดได้ ยาว 5,000 เมตร และกว้าง 1.33 เมตร
  2. สารเคลือบเบื้องต้น: ในกระบวนการเคลือบเบื้องต้น มีการทาสารเคลือบลงบนแผ่นรองรับ ซึ่งจะทำให้สารติดยึดมีแรงเกาะยึดที่ดีขึ้นในภายหลัง แล้วเครื่องขูดจะขจัดส่วนเกินของสารเคลือบเบื้องต้นออก
  3. การทำให้แห้ง: ต่อจากการเคลือบเบื้องต้น จะเป็นกระบวนการทำให้แห้งขนาดสั้น: แผ่นรองรับจะเคลื่อนผ่านเขตอุณหภูมิห้าเขต ที่นี่น้ำและสารเคลือบเบื้องต้นจะระเหยออก
  4. สถานีลูกกลิ้ง: ขั้นตอนนี้จะรีดส่วนบิดงอให้ตรง เพื่อที่ฟิล์มจะคงอยู่อย่างราบเรียบภายใต้ความตึงและไม่มีรอยย่น
  5. ตรวจควบคุมขอบม้วน: ตัวม้วนจะได้รับการจัดแนวใหม่ให้ถูกต้องแน่นอน – ซึ่งจะทำให้ม้วนวิ่งตรงในร่องทางตลอดเส้นทางที่เหลือโดยไม่ไถลออกไปทางซ้ายหรือขวา
  6. การเคลือบปิดท้าย: สารติดยึดจะได้รับการทาโดยใช้ลูกกลิ้งในถาดและลูกกลิ้งเบนทางซึ่งสามารถลดให้ต่ำลงได้ ในขั้นตอนนี้ก็เช่นเดียวกันที่เครื่องขูดจะขจัดสารติดยึดส่วนเกินออกไป
  7. การทำให้แห้ง: การเคลือบปิดท้ายจะตามด้วยการทำให้แห้งครั้งสุดท้าย แผ่นรองรับซึ่งปกคลุมด้วยสารติดยึดซึ่งยังเปียกชุ่มอยู่จะเคลื่อนผ่านเขตทำให้แห้ง 12 เขต ในตอนต้นอุณหภูมิจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างสม่ำเสมอ แล้วจะลดลงเมื่อเคลื่อนไปทางท้ายกระบวนการ
  8. การม้วน: ท้ายสุด เทปติดยึดที่ทำเสร็จแล้วจะถูกม้วนเข้าเป็นม้วนใหญ่และนำไปแปรรูป นั่นหมายความว่า ในขั้นตอนสุดท้ายของการทำงาน เทปจะถูกตัดให้เป็นขนาดต่าง ๆ (ความยาวและความกว้าง) ม้วนเข้ากับแกนม้วนแบบมาตรฐานตามขนาดที่เหมาะสม และใส่ลงในบรรจุภัณฑ์
เทปติดยึดเป็นเทปที่ไวต่อแรงกด ซึ่งหมายความว่า เทปต้องใช้ “แรงกด” เพื่อประกันการยึดเหนี่ยว
เทปติดยึดเป็นเทปที่ไวต่อแรงกด ซึ่งหมายความว่า เทปต้องใช้ “แรงกด” เพื่อประกันการยึดเหนี่ยว

ทำไมเทปติดยึดจึงเชื่อมติดได้

ทำไมสารติดยึดที่ไวต่อแรงกดจึงรวมเข้ากับเทปติดยึดได้อย่างแน่นอน มีเหตุผลเบื้องต้นสองประการสำหรับเรื่องนี้ ก่อนอื่นสารติดยึดที่ไวต่อแรงกดคืออะไรกันแน่

  1. เหนียว/ติดยึด อย่างถาวร
  2. สารนี้มีความเหนียวมาก (เราเรียกว่า "ความเหนียว") ถึงขนาดที่แค่แรงกดระดับต่ำก็เพียงพอที่จะเชื่อมเทปติดยึดให้ติดกับพื้นผิวได้

ในกรณีของสารติดยึดที่เป็นของเหลว เราทาปิดคลุมพื้นผิวและต้องรอจนกว่ากาวแข็งตัว แต่สารติดยึดที่ไวต่อแรงกดจะแข็งตัวในชั่วขณะที่เรากดด้วยนิ้วก้อยของเรา สารติดยึดที่ไวต่อแรงกดให้ทุกอย่างที่คุณชื่นชมนับถือในเพื่อนร่วมงานที่ดี: พร้อมให้คุณหยิบใช้ได้เสมอ และทำงานของตัวได้อย่างไว้วางใจได้และด้วยประสิทธิภาพสูงยิ่ง